เป็นเวลาเกินกว่า 1 ปีแล้วที่การระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ถูกประกาศเป็นการแพร่ระบาดทั่วโลก และยังเป็นผลนำไปสู่วิกฤตทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก สำหรับดัชนีตัวเลขทางเศรษฐกิจของประเทศไทย แม้ว่าตัวเลขการส่งออกจะมีสัญญาณที่ดีขึ้น แต่จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมาเที่ยวในประเทศก็ยังคงอยู่ในระดับต่ำ และการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในระลอกที่ 3 นี้จะยังคงส่งผลกระทบต่อหลายๆ ธุรกิจในประเทศ

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาลไทยและธนาคารพาณิชย์ยังคงมีความสำคัญในการทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้

อย่างไรก็ตาม มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนธุรกิจต่างๆ ได้สิ้นสุดลงไปแล้ว/1 จึงทำให้ความต้องการเงินทุนหมุนเวียนของผู้ประกอบการเพื่อผลักดันให้ธุรกิจกลับมาอยู่ในระดับก่อนการแพร่ระบาดนั้นเพิ่มสูงขึ้น และเกิดเป็นวิกฤตทางด้านสภาพคล่องในหลายๆ ธุรกิจ ส่งผลให้จำนวนของการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการในปี 2563 มีจำนวนทั้งสิ้น 16 คำร้อง ซึ่งสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับ 7 คำร้อง ในปี 2562 และ 9 คำร้อง ในปี 2561 นอกจากนี้ ในปี 2564 มีจำนวนการยื่นคำร้องตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันถึง 9 คำร้องแล้ว

ถึงแม้ว่ากระบวนการฟื้นฟูกิจการภายใต้ศาลล้มละลายกลางนั้นไม่ได้เป็นเพียงทางเลือกเดียวสำหรับธุรกิจที่ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก แต่ก็อาจจะเป็นทางเลือกที่ธุรกิจควรลองพิจารณาในระยะสั้น โดยเคพีเอ็มจีได้สรุปกระบวนการฟื้นฟูกิจการและข้อควรพิจารณาไว้ดังต่อไปนี้

การฟื้นฟูกิจการคืออะไร?

การฟื้นฟูกิจการคือกระบวนการทางศาล ซึ่งมีไว้สำหรับบริษัทที่ไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้และต้องการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อให้ธุรกิจดำเนินการต่อไปได้ ลูกหนี้จะได้รับความคุ้มครองภายใต้พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2542 โดยสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ตามแผนฟื้นฟูกิจการที่ได้รับการเห็นชอบจากศาล ซี่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้คืนในมูลค่าที่มากกว่ามูลค่าคงเหลือกรณีลูกหนี้เลิกกิจการ

บุคคลผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการคือใคร?
กระบวนการฟื้นฟูกิจการและระยะเวลาการดำเนินงาน

ข้อควรพิจารณาที่สำคัญสำหรับลูกหนี้และเจ้าหนี้

การตัดสินใจดำเนินการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการควรดำเนินการต่อเมื่อได้รับการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนจากการประเมินความเสี่ยงและประโยชน์ที่จะได้รับในหลายกรณี และหลังจากการหารือกับเจ้าหนี้หลักที่ต้องให้การสนับสนุนการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ นอกจากนี้ บริษัทควรได้รับคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางกฎหมายและที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งสามารถให้คำแนะนำที่เป็นกลางเพื่อทางเลือกที่ดีที่สุดของท่าน

การเลือกดำเนินการในทางเลือกแต่ละทางนั้น มีเหตุผลที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างกรณีที่ได้รับความสนใจที่สุดในขณะนี้ คือ การฟื้นฟูกิจการของบริษัทการบินไทย ซึ่งเป็นกรณีที่มีความซับซ้อน คือ มีเจ้าหนี้ทั้งในและต่างประเทศหลายราย และมีความจำเป็นต้องปรับโครงสร้างพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจ ในกรณีนี้กระบวนการฟื้นฟูกิจการจะช่วยให้การปรับโครงสร้างธุรกิจอยู่ในขอบเขตระยะเวลาที่เหมาะสมในการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการและการสื่อสารกับเจ้าหนี้ทุกราย

ถึงแม้ว่ากรณีนี้จะเป็นกรณีที่มีผลกระทบในวงกว้าง แต่การมีเจ้าหนี้หลายรายที่ต้องเจรจาขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชำระหนี้เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดนั้น เป็นปัจจัยที่พบบ่อยที่สุดสำหรับธุรกิจในการยื่นขอฟื้นฟูกิจการ

ข้อควรพิจารณาที่สำคัญสำหรับลูกหนี้และเจ้าหนี้
เราสามารถช่วยคุณได้อย่างไร