Thailand Tax Updates - 29 May 2017

Thailand Tax Updates - 29 May 2017

ไทยเข้าร่วมโครงการมาตรการป้องกันการเลี่ยงภาษีของ OECD

1000

Author

Benjamas K.

Tax Advisor

KPMG in Thailand

Email
ไทยเข้าร่วมโครงการมาตรการป้องกันการเลี่ยงภาษีของ OECD

ไทยเข้าร่วมโครงการมาตรการป้องกันการเลี่ยงภาษีของ OECD

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบการเข้าร่วมโครงการ Base Erosion and Profit Shifting Project (BEPS Project) ขององค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา [Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD)] ในฐานะประเทศสมาชิก (Associate Country) ภายใต้กรอบความร่วมมือ (Inclusive Framework) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ  อาจมีคำถามว่า  BEPS Project คืออะไร และจะมีผลกับผู้เสียภาษีอย่างไร   

 

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบการเข้าร่วมโครงการ Base Erosion and Profit Shifting Project (BEPS Project) ขององค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา [Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD)] ในฐานะประเทศสมาชิก (Associate Country) ภายใต้กรอบความร่วมมือ (Inclusive Framework) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ  อาจมีคำถามว่า  BEPS Project คืออะไร และจะมีผลกับผู้เสียภาษีอย่างไร   

 

แผนปฏิบัติการ BEPS มีทั้งหมด 15 ปฏิบัติการ ซึ่งอาจจะสรุปสาระของแผนปฏิบัติการได้สี่เรื่องใหญ่ๆคือ เรื่องที่หนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับธุรกรรม digital economy ในปัจจุบันการเกิดของการค้าขายที่ไร้พรมแดนในโลกดิจิตอลทำให้เกิดกระแสการทบทวนกฎหมายทั้งภายในและระหว่างประเทศในเรื่องการจัดเก็บภาษีจากธุรกรรมในระบบดิจิตอล แน่นอนว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของไทยซึ่งทราบว่ากรมสรรพากรกำลังศึกษาเพื่อหามาตรการจัดเก็บภาษีโดยเฉพาะการค้าขายข้ามชาติซึ่งในปัจจุบันกฎหมายไทยไม่สามารถจัดเก็บภาษีได้ 

 

เรื่องที่สอง เป็นเรื่องมาตรการการป้องกันการวางแผนภาษีที่ใช้ข้อกฎหมายที่แตกต่างของแต่ละประเทศเพื่อการโอนถ่ายกำไร เช่น  เรื่อง จำกัดการหักค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย ผ่านมาตรการการป้องกันตั้งทุนต่ำ (Thin Capitalisation rule )  มาตรการป้องกันการเก็บกำไรไว้ในประเทศภาษีต่ำผ่าน  Controlled Foreign Corporation (CFC rule) การแสวงหาประโยชน์จากอนุสัญญาภาษีซ้อน (Tax treaty shopping)เป็นต้น  ซึ่งไทยยังไม่มีในเรื่องเหล่านี้  

 

เรื่องที่สามคือ การให้มีความโปร่งใส และมาตราในการตกลงกรณีมีข้อพิพาท เช่น เสนอให้ผู้เสียภาษีต้องมีการรายงานการวางแผนภาษีที่ถือว่าเป็น  aggressive tax planning และศึกษาอุปสรรคที่จะทำให้ไม่สามารถใช้วิธีการแก้ปัญหาผ่าน  MAP  (Mutual Agreement Procedures – เป็นขั้นตอนที่ให้มีการทำความตกลงร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งสองประเทศเพื่อแก้ปัญหาภาษีที่กระทบทั้งสองประเทศ)

 

เรื่องที่สี่ คือการเพิ่มมาตรการเรื่องการป้องกันราคาโอน  (Transfer pricing) เช่นจัดให้มีกฏหมายเกี่ยวกับ transfer pricing  เรื่องการจัดทำเอกสารราคาโอน เรื่องของการ ให้มีการรายงานรายการระหว่างกัน ในรายละเอียดมากขึ้น ซึ่งรวมถึง Country-by- Country Report ที่กล่าวถึงข้างต้น  ในเรื่องการป้องกันราคาโอนในปัจจุบันไทยได้มีร่างกฎหมายราคาโอนแล้วที่กำลังรอออกเป็นกฎหมายบังคับใช้ ตามร่างกฎหมายราคาโอนของไทยกิจการที่มีรายการระหว่างกันจะต้องมีการจัดทำเอกสารราคาโอนเพื่อนำส่งกรมสรรพากรซึ่งยังไม่ครอบคลุมถึง  Country-by-Country Report   ทั้งนี้การเข้าร่วมของไทยใน  BEPS Project  นอกจากจะเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับบทบาทของไทยในเวทีระดับนานาชาติแล้วยังสอดรับกับวัตถุประสงค์ของการปฎิรูปภาษีของรัฐเพื่อขยายฐานภาษีรายได้อย่างยังยืน 

© 2024 KPMG Phoomchai Tax Ltd., a Thailand limited liability company and a member firm of the KPMG network of independent member firms affiliated with KPMG International Cooperative (“KPMG International”), a Swiss entity. All rights reserved.

KPMG International Cooperative (“KPMG International”) is a Swiss entity.  Member firms of the KPMG network of independent firms are affiliated with KPMG International. KPMG International provides no client services. No member firm has any authority to obligate or bind KPMG International or any other member firm vis-à-vis third parties, nor does KPMG International have any such authority to obligate or bind any member firm.

Connect with us